Science Experiences Management for Early Childhood
ผู้สอน อาจารย์จินตนา สุขสำราญ
_________________________________________________________________
วิจัย
การสรุปงานวิจัยเกี่ยวกับการจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
ชื่อวิจัย : การพัฒนาแบบทดสอบวัดทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์สำหรับนักเรียนระดับปฐมวัย
ชื่อผู้วิจัย : ประภาพร เทพไพฑูรย์
มหาวิทยาลัยทักษิณ
บทคัดย่อ
การศึกษาครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อพัฒนาแบบทดสอบวัดทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์สำหรับนักเรียนระดับปฐมวัย ซึ่งแบบทดสอบประกอบด้วย 7 ฉบับ คือ
ฉบับที่ 1 ทักษะการสังเกต
ฉบับที่ 2 ทักษะการวัด
ฉบับที่ 3 ทักษะการจำแนกประเภท
ฉบับที่ 4 ทักษะการหาความสัมพันธ์ระหว่างมิติกับมิติ
ฉบับที่ 5 ทักษะการใช้ตัวเลข
ฉบับที่ 6 ทักษะการสื่อความหมายจากข้อมูล
ฉบับที่ 7 ทักษะการลงความเห็นเชิงโครงสร้าง
โดยหาคุณภาพของแบบทดสอบด้านความเที่ยงตรงเชิงเนื้อหา ความเที่ยงตรงเชิงโครงสร้าง ความยากง่าย อำนาจจำแนก ความเชื่อมั่น สร้างเกณฑ์ปกติ และคู่มือการใช้แบบทดสอบ กลุ่มตัวอย่างจำนวน 375 คน เป็นนักเรียนชั้นปฐมวัยปีที่ 2 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2548 ของโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาสงขลา เขต 1 ผลการศึกษาพบว่า
คุณภาพของแบบทดสอบวัดทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์มีความเที่ยงตรงเชิงเนื้อหา โดยผู้เชี่ยวชาญพิจารณาค่าดัชนีความสอดคล้องระหว่างข้อสอบกับพฤติกรรมบ่งชี้ มีค่าดัชนีความสอดคล้องตั้งแต่ 0.20 ถึง 1.00 สำหรับข้อที่มีค่าดัชนีความสอดคล้องต่ำกว่า 0.70 ผู้วิจัยได้ทำการปรับปรุงแก้ไขตามข้อเสนอแนะของผู้เชี่ยวชาญ มีค่าความยากง่ายตั้งแต่ 0.61 ถึง 0.78 และค่าอำนาจจำแนกตั้งแต่ 0.42 ถึง 0.77 ความเที่ยงตรงเชิงโครง์สหสัมพันธ์ระหว่างคะแนนรายข้อกับคะแนนรวมทั้งฉบับพบว่ามีค่าสัมประสิทธิ์ สหสัมพันธ์เท่ากับ 0.29 ถึง 0.69 ซึ้งมีระดับนัยสำคัญทางสติถิที่ 0.01 มีค่าความเชื่อมั่นตั้งแต่ 0.60 ถึง 0.69 และมีคะแนนที่ปกติอยู่ระหว่าง T1 ถึง T64 คลิกเพิ่มเติม
จบการนำเสนอ
สุภาวดี พรมภักดิ์
จบการนำเสนอ
สุภาวดี พรมภักดิ์
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น