--

--

วันเสาร์ที่ 13 ธันวาคม พ.ศ. 2557

No.16

มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม
Science Experiences Management for Early Childhood
ผู้สอน อาจารย์จินตนา สุขสำราญ


วัน เวลา วันอังคาร ที่ 2 เดือน ธันวาคม พ.ศ. 2557 ภาคเรียนที่ 1/2557 กลุ่ม 102
เวลา 14:10 - 17:30 น. ห้อง 432
ในการเรียนการสอบครั้งนี้ดิฉันไม่ได้เข้าเรียน เนื่องจากป่วย จึงขอหยุด 1วัน
และได้ศึกษาหาความรู้เพิ่มเติมนอกเวลาเรียนดังนี้
เรื่อง การเรียนวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัย

การเรียนวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัย


                             วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กอายุ  3 – 6  ขวบ  มิได้หมายถึงสาระทางชีววิทยา  เคมี  กลศาสตร์  แต่เนื้อหาวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยคือ  สาระเกี่ยวกับธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมรอบตัวเด็กที่เด็กควรรู้  การเรียนการสอนมุ่งเพื่อให้เด็กเกิดความเข้าใจมากกว่าที่จะจำเป็นองค์ความรู้  การเรียนวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัยแตกต่างจากเด็กวัยอื่นที่เด็กปฐมวัยมีการเจริญของสมองที่รวดเร็วและต้องการการกระตุ้นเพื่อการงอกงามของใยสมองในช่วงปฐมวัย  แต่ขณะเดียวกันพัฒนาการทางสติปัญญาของเด็ก  อายุ  2 – 6  ขวบ  ยังเป็นช่วงก่อนปฏิบัติการ  (pre – operative  stage)  เด็กเอาตนเองเป็นศูนย์กลาง  (self - centered)  และมองสิ่งรอบตัวโดยเน้นที่ตัวของเด็กเอง  เด็กจะรับรู้และคิดถ่ายโยงเป็นทิศทางเดียวไม่ซับซ้อน  เช่น  รู้สี  รู้รูปร่าง  โดยรู้ทีละอย่าง  จะเรียนรู้สองอย่างพร้อมกันไม่ได้  หรือเอามาผนวกกันไม่ได้  ซึ่งการเรียนวิทยาศาสตร์เป็นการเรียนเพื่อฝึกเด็กให้บูรณาการข้อความรู้ต่าง ๆ  เข้าด้วยกันโดยให้เด็กรู้จักสังเกต  ค้นหา  ให้เหตุผล  หรือทดลองด้วยตนเอง  ด้วยเหตุนี้การเรียนวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยจึงต้องเริ่มจากทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์  ได้แก่  การสังเกต  การค้นคว้าหาคำตอบ  การให้เหตุผล  ตามด้วยการเรียนทักษะกระบวนการวิทยาศาสตร์  และความรู้ทางวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กโดยใช้ประสบการณ์จริงและการทดลองปฏิบัติ  เช่น  การเรียนรู้การเจริญเติบโตของพืชด้วยการทดลองปลูกพืช  สังเกตความสูงของพืช  และการงอกงามของพืช  เป็นต้น

ประโยชน์จากการเรียนรู้วิทยาศาสตร์
                พัฒนาการทางปัญญาเป็นความสามารถทางสมองในการรวบรวมประสบการณ์และความรู้มาเป็นพื้นฐานของการคิดเหตุผล  ช่วยให้เกิดความรู้  ความเข้าใจ  สามารถแก้ปัญหาได้  และสามารถปรับตัวเข้ากับสิ่งแวดล้อมได้อย่างมีประสิทธิภาพ  ความสามารถเหล่านี้สามารถพัฒนาให้เกิดขึ้นกับเด็กปฐมวัยด้วยการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ทางปัญญา  การพัฒนาทางสติปัญญา  ไม่ใช่การเพิ่มระดับไอคิว  แต่การพัฒนาทางสติปัญญาเน้นการเพิ่มพัฒนาการทางสติปัญญาใน  2  ประการ  คือ
                1.  ศักยภาพทางปัญญา  คือ การสังเกต  การคิด  การแก้ปัญหา  การปรับตัว  และการใช้ภาษา
                2.  พุทธิปัญญา  คือ  ความรู้ความเข้าใจที่ใช้เป็นพื้นฐานของการขยายความรู้  การคิดวิเคราะห์  สังเคราะห์  และประเมินเพื่อการพัฒนาการรู้การเข้าใจที่สูงขึ้น
          การเรียนวิทยาศาสตร์  เป็นการพัฒนาศักยภาพทางปัญญา  และพุทธิปัญญา  จากการทำกิจกรรมการเรียนวิทยาศาสตร์  สิ่งที่เด็กได้จากกิจกรรมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ที่มีประสิทธิภาพมีอย่างน้อย  4  ประการ  คือ
                1.  ความสามารถในการสังเกต  การจำแนก  การแจกแจง  การดู  ความเหมือน ความต่าง  ความสัมพันธ์
                2.  ความสามารถในการคิด  การคิดเป็นการจัดระบบความสัมพันธ์ของข้อมูลภาพ  และสิ่งที่พบเห็นเข้าด้วยกัน  เพื่อแปลตามข้อมูลหรือเชื่อมโยงข้ออ้างอิงที่พบไปสู่การประยุกต์ใช้ที่เหมาะสม  การคิดเป็นคือการคิดอย่างมีเหตุผล  โดยคำนึงถึงหลักวิชาการและบริบท
                3.  ความสามารถในการแก้ปัญหา  ซึ่งมักจะเกิดขึ้นระหว่างการจัดกิจกรรม  เด็กจะได้เรียนรู้จากการค้นคว้าในการเรียนนั้น ๆ
                4.  การสรุปข้อความรู้  หรือมโนทัศน์จากการสังเกต  และการทดลองจริงสำหรับเป็นพื้นฐานความรู้ของการเรียนรู้ต่อเนื่อง

 ตัวอย่างแผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์
เรื่อง                                 การปรุงอาหาร
สำหรับ                             เด็กอายุ  5 – 6  ขวบ
มโนทัศน์การเรียนรู้            การปรุงอาหารเกิดจากการผสมส่วนประกอบของอาหารต่าง ๆ เข้าด้วยกันอย่างถูกต้องตามชื่ออาหารนั้นให้ได้รสที่ต้องการ
ผลลัพธ์การเรียนรู้              ปรุงอาหารเป็น รู้จักรสอาหาร  เช่น  เค็ม  เปรี้ยว  หวาน สนุกกับการทำงานร่วมกับเพื่อน
สิ่งที่เด็กต้องปฏิบัติ             ช่วยกันวางแผนปรุงอาหารอย่างใดอย่างหนึ่งที่กลุ่มเลือก  และช่วยกันปรุงอาหารนั้น
อุปกรณ์ที่เตรียม                 เครื่องปรุง จาน ชาม  ช้อนสำหรับใส่อาหารเครื่องครัวเท่าที่ต้องการ
กิจกรรมการเรียนรู้
ขั้นนำเข้าสู่บทเรียน
                Ÿ  ครูทักทายเด็ก  และสนทนาเรื่องอาหารการกิน
                Ÿ  ครูบอกกิจกรรมและจุดประสงค์ของกิจกรรม
ขั้นดำเนินการ
                1.  ครูให้เด็กช่วยกันเลือกอาหารที่ตนเองชอบและต้องการปรุง  (ครูอาจมีตัวเลือก  2 – 3  อย่าง  ที่เป็นอาหารกลุ่มเดียวกัน  เพื่อความสะดวกในการเตรียมเครื่องปรุง  เช่น ส้มตำ  สลัดผัก  แซนวิช  เป็นต้น)
                2.  ให้เด็กแต่ละกลุ่มแบ่งหน้าที่กันทำ
                3.  เสร็จแล้วให้วางแผนร่วมมือกันพร้อมปรุงอาหารที่เลือก
                4.  แบ่งปันกลุ่มอื่นรับประทานอาหารร่วมกัน
ข้อสรุปบทเรียน
                1.  อภิปรายกลุ่มใหญ่เรื่องปัญหาการปรุงอาหารและการช่วยเหลือกัน
                2.  สรุปผลการปรุงอาหารว่าใช้กระบวนการวิทยาศาสตร์ใด
                3.  อาหารที่ปรุงมีรสอะไรบ้าง

การประเมินภาพการเรียนรู้
                Ÿ  สังเกตการตอบคำถามเกี่ยวกับกระบวนการทางวิทยาศาสตร์
         ตัวอย่างกิจกรรมอาหาร  เป็นกิจกรรมวิทยาศาสตร์ที่เด็กชอบมากเนื่องจากคุ้นเคยอยู่กับบ้านเป็นกิจวัตรที่เด็กทุกคนสนใจและต้องการทำ  ในการจัดกิจกรรมอาหารนี้  ควรใช้กลุ่มเล็ก  เพื่อความปลอดภัย  และสามารถสนทนาในรายละเอียดเวลารับประทานร่วมกัน  เด็กจะเกิดมโนทัศน์  เรื่องอาหาร  เช่น  ประโยชน์ของอาหารต่อร่างกาย  และเรียนรู้วิทยาศาสตร์ตามจุดประสงค์ของกิจกรรม  นอกจากนี้การรับประทานอาหารด้วยกันยังเป็นการฝึกให้เด็กช่วยตนเองในการรับประทานอาหาร  เช่น  ตักอาหาร  และทำอาหารง่าย ๆ

สรุป
         กิจกรรมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์  เป็นการเรียนรู้ที่มีจุดมุ่งหมาย  2  ประการ  คือ  การฝึกทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์และการเรียนรู้ข้อความรู้ทางวิทยาศาสตร์ที่เป็นธรรมชาติรอบตัวที่เด็กพบในชีวิตประจำวัน  โดยเน้นการใช้ทักษะกระบวนการวิทยาศาสตร์  คือ  1)  การสังเกต  2)  การจำแนกเปรียบเทียบ  3)  การวัด  4)  การสื่อสาร  5)  การทดลอง  และ  6)  การสรุปและนำไปใช้  สิ่งที่ได้จากการเรียนวิทยาศาสตร์คือ  การสร้างให้เด็กมีนิสัยการค้นคว้า  การสืบค้น  และการทำความเข้าใจธรรมชาติรอบตัว  รู้จักวิธีการค้นหาความรู้อย่างนักวิทยาศาสตร์  โดยการพัฒนาทักษะพื้นฐานวิทยาศาสตร์  กระบวนการทางวิทยาศาสตร์  ในขณะเดียวกันเรียนรู้วิทยาศาสตร์รอบตัวไปด้วย
--------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
ผู้บันทึก
นางสาวสุภาวดี  พรมภักดิ์

วันพฤหัสบดีที่ 27 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

No. 15

มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม
Science Experiences Management for Early Childhood
ผู้สอน อาจารย์จินตนา สุขสำราญ


วัน เวลา วันอังคาร ที่ 25 เดือน พฤศจิกายน พ.ศ. 2557 ภาคเรียนที่ 1/2557 กลุ่ม 102
เวลา 14:10 - 17:30 น. ห้อง 432

ในสัปดาห์นี้อาจารย์ให้นำเสนอวิจัย(Research)และโทรทัศน์ครู(Teachers TV)ของแต่ละคน 

โทรทัศน์ครู(Teachers TV)
การกำเนิดของเสียง 

= การใช้ช้อนซ้อม/โลหะที่มีคุณสมบัติต่างกันมาตีกัน

สารอาหารในชีวิตประจำวัน 

= นำแกงส้มมาแล้วนำกระดาษทดลองจุ่มลงไปสังเกตการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น

ไฟฟ้าและพรรณพืช

= สำรวจ/สังเกตการเจริญเติบโตของพรรณพืชการทดลองโดยใช้กระแสไฟฟ้าทำกับน้ำเกิดOxygen ช่วยในการเจริญเติบโตของพืช


วิจัย(Research) 
ผลการจัดกิจกรรมการเรียนรูเรื่องสีธรรมชาติที่มีต่อทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัย 

= การลงมือปฏิบัติ/คั้นน้ำจากผัก/ผลไม้/ดอกไม้เพื่อเอาสีมาทำผสมอาหารหรือทำงานศิลปะ

ผลการจัดกิจกรรมเรื่องแสงที่มัต่อทักษะการแสวงหาความรู้
การพัฒนาทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัยด้วยกิจกรรมเครื่องดื่มสมุนไพร 

= การจำแนก/สังเกต/สื่อความหมายของข้อมูล

ต่อไปเป็นการทำ Waffle


ส่วนผสมและวิธีการทำนะคะ

ส่วนผสม                     1.แป้ง(Powder)                     2.เนย(Better)                     3.ไข่ไก่ (Egg)                    4.น้ำเปล่า(Water)


วิธีการทำ
1. นำแป้ง และไข่ไก่ตีให้เข้ากัน จากนั้นนำเนยใส่ผสมลงไปตีให้เข้ากันใส่น้ำลงไปเล็กน้อย


2. ตักใส่ภาชนะที่มีขนาดเล็ก(ตวง)


3. นำเนยทาแม่พิมพ์ และเทแป้งที่เราเตรียมไว้ใส่แม่พิมพ์ ปิดฝากรอ ไฟสีเขียวขึ้นเป็นอันว่าสุก


รูปร่างหน้าตาของขนมWaffleของพวกเราค่ะ

_____________________________________________________________________

 (◕‿◕✿)การนำไปใช้
                                    สามารถนำความรู้ที่ได้จากการฟังเพื่อนออกมานำเสนอและที่อาจารย์อธิบายให้ฟังสามารถนำมาปรับใช้ในการเรียนการสอนในอนาคตได้เพราะบางกิจกรรมบางวิจัยที่ศึกษาสามารถนำมาปรับใช้กับการเรียนการสอนเด็กในการจัดกิจกรรมที่หลากหลายให้กับเด็กได้เกี่ยวกับทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์รวมถึงการทำWaffleสามารถนำวิธีการขั้นตอนการทำมาใช้สอนเด็กในอนาคตได้ซึ่งจะทำให้เด็กมีส่วนร่วมในการทำกิจกรรมและได้ทักษะทางวิทยาศาสตร์อีกด้วยในเรื่องการสังเกต/การลงมือปฏิบัติ/การใช้ประสาทสัมผัสทั้ง 5 ในการดม ชิมรส การสัมผัส ตาดู หูฟัง

(◕‿◕✿)การประเมิน
                      ตนเอง : มีความร่วมมือในการทำกิจกรรมและมีจิตอาสาในการล้างภาชนะหลังทำกิจกรรมเสร็จ.

                      เพื่อน : เพื่อนๆมีความร่วมมีในการทำกิจกรรมและตื่นเต้นในการทำWaffleอีกด้วย เพราในการทำเราทำเองและเรายังได้กินด้วยในผลงานของตัวเองทำ.

                     อาจารย์ : มีหลักการการสอน และจัดสื่อการสอนที่เป็นระบบง่ายต่อการสอนและเรียนรู้ได้อย่างเข้าใจ และนักศึกษาได้ทำกิจกรรมทุกคน.
จบการนำเสนอ
สุภาวดี พรมภักดิ์